ยาเสพย์ติดเป็นภัยต่อชีวิตเป็นพิษต่อสังคม

ความรู้ทั่วไปของยาเสพย์ติด · ประเภทของยาเสพย์ติดประเภทต่างๆ · ลักษณะอาการของผู้ ติดยาเสพย์ติด · สาเหตุหลักของการติดยาเสพย์ติด และบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

สปาเท้าทั้งสอง ผ่อนคลายด้วยตัวเอง


การทำสปาเท้าด้วยตนเอง
  • เทน้ำอุ่นในอ่างหรือภาชนะ ผสมเกือบหอม ใบชาจีน มะกรูด หั่นเป็นแว่นๆ ใส่ลงไปเพื่อดับกลิ่น หรือใส่น้ำมันหอมระเหย 1-2 หยด
  • แช่เท้าทิ้งไว้ 10 นาที นั่งเอนหลังผ่อนคลาย หลับตา หายใจ เข้า-ออก ลึกๆ
  • ทำความสะอาดเท้า โดยใช้ครีมสครับขัดที่เท้าให้นุ่มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณส้นเท้าที่ด้าน ล้างเท้าและใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง
  • ทาครีมบำรุงเท้า โดยอุ่นครีมในฝ่ามือ ลูบให้ทั่วเท้า และเริ่มนวดเท้าโดยยกเท้าซ้ายมาพาดเหนือหัวเข่าขวา สองมือกำเท้าให้กระชับ ใช้นิ้วมือบีบเท้าให้ทั่ว เริ่มตั้งแต่นิ้วเท้าไล่มาถึง ส้นเท้า ลูบสลับขึ้น - ลงเพื่อวอร์มเท้า กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ลดอาการเท้าเย็น
  • มือซ้ายจับข้อเท้า มือขวาจับฝ่าเท้าหมุนเป็นวงกลมตามเข็มนาฬิกา หมุน 6 รอบ และสลับหมุนทวนเข็มอีก 6 รอบ
  • ใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี และนิ้วกลาง กดนวดคลึงนิ้วหัวแม่เท้าให้ทั่ว รวมทั้งข้อนิ้วและนิ้วเท้าที่เหลือทั้งสี่ จะช่วยลดความตึงเครียดของประสาทตาและสมอง ถ้าคนตึงเครียดมากจะเจ็บเวลานวด
  • แบ่งฝ่าเท้าออกเป็นสามตอน ตอนบนสุดใช้นิ้วนวดขึ้นตามร่องนิ้ว ส่วนตอนกลางฝ่าเท้า ใช้นิ้วโป้งทั้งสองมือช่วยรีดหรือใช้มะเหงกกรีดลงมาถึงส้นเท้า ขณะที่ช่วงส้นเท้าซึ้งอยู่ล่างสุดใช้มะเหงกกรีดจากกลางเท้าลงมาหาส้นเท้าวนขึ้นไปที่แนวตาตุ่มทั้งสองข้าง
  • นวดเท้าอีกข้างในขั้นตอนเดียวกัน เมื่อเสร็จแล้วให้สวมถุงเท้าสะอาดแล้วเข้านอน เมื่อตื่นขึ้นมา จะพบว่าผิวบริเวณเท้าอ่อนนุ่มน่าสัมผัสยิ่งขึ้น


credit : วารสารเพื่อนประปา ฉบับที่ 17 ปีที่ 5 มกราคม - มีนาคม 2552


ป้ายกำกับ:

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

การหลีกเลี่ยงและป้องกันการติดสิ่งเสพย์ติด

หลักในการหลีกเลี่ยงและป้องกันการติดสิ่งเสพย์ติด

1. เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครู และคนอื่นๆ ที่น่านับถือและหวังดี (จริงๆ)
2. เมื่อมีปัญหาควรปรึกษาครอบครัว ครู หรือผู้ใหญ่ที่น่านับถือ ไม่ควรเก็บปัญหานั้นไว้หรือหาทางลืมปัญหาโดยใช้สิ่งเสพย์ติดช่วยหรือ ใช้เพื่อเป็นการประชด
3. หลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากผู้ติดสิ่งเสพย์ติด หรือผู้จำหน่ายสิ่งเสพย์ติด
4. ถ้าพบคนกำลังเสพสิ่งเสพย์ติด หรือจำหน่ายให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่
5. ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของสิ่งเสพย์ติด เพื่อจะได้ป้องกันตัวและผู้ใกล้ชิดให้ห่างจากสิ่งเสพย์ติด
6. ต้องไม่ให้ความร่วมมือเข้าไปเกี่ยวข้องกับเพื่อนที่ติดสิ่งเสพย์ติด เช่นไม่ให้ยืมเงิน
7. ไม่หลงเชื่อคำชักชวนโฆษณา หรือคำแนะนำใดๆ หรือแสดงความเก่งกล้าเกี่ยวกับการเสพสิ่งเสพย์ติด
8. ไม่ใช้ยาอันตรายทุกชนิดโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และควรใช้ยาที่แพทย์แนะนำให้ตามขนาดที่แพทย์สั่งไว้เท่านั้น
9. หากสงสัยว่าตนเองจะติดสิ่งเสพย์ติดต้องรีบแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบ
10. ยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนา หรือคำสอนของศาสนาทุกศาสนา เพราะทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายให้บุคคลประพฤติแต่สิ่งดีงามและละเว้นความชั่ว

ป้ายกำกับ:

สาเหตุของการติดสิ่งเสพย์ติด

สาเหตุของการติดสิ่งเสพย์ติดมีอยู่มากมายหลายสาเหตุ โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ครอบครัวหรือผู้ปกครอง โรงเรียน หรือสถานศึกษา สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และสังคม ปัญหาจากทางร่างกายและจิตใจของคนผู้นั้น ปัญหาทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งเราพอสรุปสาเหตุของการติดสิ่งเสพย์ติดเป็นข้อๆ ได้ดังต่อไปนี้

1. สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
1.1 อยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไป และโดยที่ไม่คิดว่าตนจะติดสิ่งเสพย์ติดนี้ได้ จึงไปทำการทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น ในการทดลองใช้ครั้งแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้ายังไม่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็อาจประมาทไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นอีก จนใจที่สุดก็ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น หรือถ้าไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน แม้จะเสพเพียงครั้งเดียว ก็อาจทำให้ติดได้
1.2 ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตนในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพย์ ติดชนิดต่างๆ เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คำนึง ถึงผลเสียหายหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุดจนเองก็กลายเป็นคนติดสิ่งเสพย์ติดนั้น
1.3 การชักชวนของคนอื่น อาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณาของผู้ขายสินค้าที่เป็นสิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น ยากระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพย์ติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชา ทำให้มีจิตใจแจ่มใส ทำให้มีสุขภาพดี ทำให้มีสติปัญญาดี สามารถรักษาโรคได้บางชนิด เป็นต้น ผู้ที่เชื่อคำชักชวนโฆษณาดังกล่าวจึงไปซื้อตามคำชักชวนของเพื่อนฝูง ซึ่งโดยมากเป็นพวกที่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นอยู่แล้ว ด้วยความเกรงใจเพื่อน หรือเชื่อเพื่อน หรือต้องการแสดงว่าตัวเป็นพวกเดียวกับเพื่อน จึงใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น

2. สาเหตุที่เกิดจากการถูกหลอกลวง
ปัจจุบันนี้มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มบางรายใช้สิ่งเสพย์ติดผสมลงในสินค้าที่ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไปรับประทานเกิดการติด อยากมาซื้อไปรับประทานอีก ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ซื้ออาหารนั้นมารับประทาน จะไม่รู้สึกว่าตนเองเกิดการติดสิ่งเสพย์ติดขึ้นแล้ว รู้แต่เพียงว่าอยากรับประทานอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มที่ซื้อจากร้านนั้นๆ กว่าจะทราบก็ต่อเมื่อตนเองรู้สึกผิดสังเกตต่อความต้องการ จะซื้ออาหารจากร้านนั้นมารับประทาน หรือต่อเมื่อ มีอาการเสพย์ติดรุนแรง และมีสุขภาพเสื่อมลง

3. สาเหตุที่เกิดจากความเจ็บป่วย
3.1 การเจ็บป่วยทางกาย คนที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายเกิดขึ้นเพราะสาเหตุต่างๆ เช่นได้รับบาดเจ็บรุนแรง เป็นแผลเรื้อรัง มีความเจ็บปวดอยู่เป็นประจำ เป็นโรคประจำตัวบางอย่าง เป็นต้น ทำให้ได้รับทุกข์ทรมานมาก หรือเป็นประจำ จึงพยายามแสวงหาวิธีที่จะช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความทุกข์ทรมานนั้นซึ่ง วิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายคือ การรับประทานยาที่มีฤทธิ์ระงับอาการเจ็บปวดนั้นได้ ซึ่งไม่ใช่เป็นการรักษาที่เป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย เพียงแต่ระงับอาการเจ็บปวดให้หมดไปหรือลดน้อยลงได้ชั่วขณะ เมื่อฤทธิ์ยาหมดไปก็จะกลับเจ็บปวดใหม่ ผู้ป่วยก็จะใช้ยานั้นอีก เมื่อทำเช่นนี้ไปนานๆ เกิดอาการติดยานั้นขึ้น
3.2 การเจ็บป่วยทางจิต ผู้ที่มีจิตใจไม่เป็นปกติเช่น มีความวิตก กังวล เครียด มีความผิดหวังในชีวิต มีความเศร้าสลดเสียใจ เป็นต้น ทำให้สภาวะจิตใจไม่เป็นปกติจนเกิดการป่วยทางจิตขึ้น จึงพยายามหายาหรือสิ่งเสพย์ติดที่มีฤทธิ์สามารถคลายความเครียดจากทางจิตได้ ชั่วขณะหนึ่งมารับประทาน แต่ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุเมื่อยาหมดฤทธิ์ จิตใจก็จะกลับเครียดอีก และผู้ป่วยก็จะเสพสิ่งเสพย์ติด ถ้าทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ผู้นั้นติดยาเสพย์ติดในที่สุด
3.3 การปฏิบัติไม่ถูกต้องในการใช้ยา การไปซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ทราบสรรพคุณยาที่แท้จริง ขนาดยาที่ควรรับประทาน การรับประทานยาเกินจำนวนกว่าที่แพทย์ได้สั่งไว้ การรับประทานยาบางชนิดมากเกินขนาด หรือรับประทานติดต่อกันนานๆ บางครั้งอาจมีอาการถึงตายได้ หรือบางครั้งทำให้เกิดการเสพติดยานั้นได้

4. สาเหตุอื่นๆ
4.1 การอยู่ใกล้ชิดกับแหล่งสิ่งเสพย์ติด การอยู่ใกล้แหล่งขายหรือใกล้แหล่งผลิต หรือ เป็นผู้ขายหรือผู้ผลิตเอง จึงทำให้มีโอกาสติดสิ่งเสพย์ติดให้โทษนั้นมากกว่าคนทั่วไป
4.2 การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดสิ่งเสพย์ติด เมื่อมีเพื่อนสนิทหรือพี่น้องที่ติดสิ่งเสพย์ติดอยู่ ผู้นั้นย่อมได้เห็นวิธีการเสพ ของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด รวทั้งใจเห็นพฤติกรรมต่างๆ ของเขาด้วย และยังอาจได้รับคำแนะนำหรือชักชวนจากผู้เสพด้วย จึงมีโอกาสติดได้
4.3 สภาพแวดล้อมทางสังคม คนบางคนอยู่ในสภาพที่มีปัญหา เช่น ว่างงาน ยากจน ค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยมีรายได้ลดลง หรือคงที่ มีหนี้สินมาก ฯลฯ เมื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้ก็หันไปใช้สิ่งเสพย์ติด ช่วยผ่อนคลายความรู้สึกในความทุกข์ยากต่างเหล่านี้ แม้จะรู้ว่าเป็นชั่วครู่ชั่วยามก็ตาม เช่น กลุ้มใจที่เป็นหนี้คนอื่นก็ไปกินเหล้าหรือสูบกัญชาให้เมาเพื่อที่จะได้ลืม เรื่องหนี้สิน บางคนต้องการรายได้เพิ่มขึ้นโดยพยายามทำงานให้หนักและมากขึ้นทั้งๆ ที่ร่างกายอ่อนเพลียมากจึงรับประทานยากระตุ้นประสาทเพื่อให้สามารถทำงานต่อ ไปได้ เป็นต้น ถ้าทำอยู่เป็นประจำทำให้ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นได้
4.4 การเลียนแบบ การที่ไปเห็นผู้ที่ตนสนิทสนมรักใคร่เหรือเพื่อนเสพสิ่งเสพย์ติด จึงเห็นว่าเป็นสิ่งน่าลอง เป็นสิ่งโก้เก๋ เป็นสิ่งแสดงความเป็นพวกเดียวกัน จึงไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นจนติด
4.5 การประชดชีวิต คนบางคนมีความผิดหวังในชีวิตตนเอง ผิดหวังในชีวิตครอบครัว หรือผิดหวังในชีวิตสังคม เพื่อเป็นการประชดตนเองหรือคนอื่น จึงไปใช้สิ่งเสพย์ติดจนติด ทั้งๆ ที่ทราบว่าเป็นสิ่งไม่ดี ก็ตาม

ป้ายกำกับ:

ลักษณะของผู้ติดสิ่งเสพย์ติด



ลักษณะอาการของผู้ติดสิ่งเสพย์ติด มีดังนี้
1. มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยานั้นต่อไปอีกเรื่อยๆ
2. มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของสิ่งเสพย์ติดให้มากขึ้นทุกขณะ
3. ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพจะเกิดอาการขาดยาหรืออย่ากยาโดยแสดงออกมา ในลักษณะอาการต่างๆ เช่น หาว อาเจียน น้ำมูกน้ำตาไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั่ง ขาดสติ โมโห ฉุนเฉียว ฯลฯ
4. สิ่งเสพย์ติดนั้นหากเสพอยู่เสมอๆ และเป็นเวลานานจะทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้ร่างกายซูบผอมมีโรคแทรกซ้อน และทำให้เกิดอาการทางโรคประสาทและจิตใจไม่ปกติ

ป้ายกำกับ:

สิ่งเสพย์ติดประเภทต่างๆ


สิ่งเสพย์ติดในปัจจุบันนี้ เท่าที่ทั่วโลกได้ค้นพบและพิสูจน์แล้วปรากฏว่ามีสิ่งเสพย์ติดที่แบ่งตามสภาพของยาไม่ต่ำกว่า 116 ชนิด ทั้งนี้ไม่นับยารักษาโรคทั่วๆ ไปที่นำมาใช้เสพกันเป็นประจำจนกลายเป็นสิ่งเสพย์ติด อย่างไรก็ตาม


เราสามารถจำแนกสิ่งเสพย์ติดชนิดต่างๆ ที่แพร่ระบาดอยู่ในประเทศไทยออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.จำแนกตามคุณสมบัติการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท
1.1 สิ่งเสพย์ติดประเภทกดประสาท คือ สิ่งเสพย์ติดที่เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะไปกดประสาท ส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดอาการมึนงงชาต่อสมองและทำให้ประสาทที่ควบคุมส่วนต่างๆของร่างกาย บางส่วนหยุดทำงานหมดความเป็นตัวของตัวเองไปชั่วขณะ สิ่งเสพย์ติดที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เซคแคนนอลหรือเซคโคบาร์บิทาน พวกยานอนหลับ และยากล่อมประสาทต่างๆ รวมทั้งเหล้าก็จัดอยู่ในสิ่งเสพย์ติดประเภทนี้ด้วย
1.2 สิ่งเสพย์ติดประเภทกระตุ้นประสาท คือ สิ่งเสพย์ติดที่เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะไปออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานตามฤทธิ์ของยา ซึ่งอาจจะเกินขีดความสามารถของร่างกาย ดังนั้นเมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้วจะทำให้ส่วนต่างๆ เหล่านั้นทรุดโทรมเสื่อมสมรรถภาพได้ ซึ่งถ้ายาประเภทนี้อยู่นานๆ อาจจะกลายเป็นคนวิกลจริตประสาทหลอน หรือหัวใจวายถึงตายได้ สิ่งเสพย์ติดที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่ สิ่งเสพย์ติดประเภทแอมแฟตามีน หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า ยาม้า ยาบ้า ยาขยัน นอกจากนี้ก็เป็นจำพวกยาลดความอ้วน ยากระตุ้นประสาทที่ผสมในเครื่องดื่มต่างๆ พวกคาเฟอีนในกาแฟ และพวกโคเคอีนในพวกโคคา

1.3 สิ่งเสพย์ติดประเภทหลอนประสาท คือ สิ่งเสพย์ติดที่เมื่อเสพเข้าไปแล้วทำให้ผู้เสพมีอาการฝันเฟื่อง จิตหลอน เห็นแต่ภาพลวงตา ควบคุมตัวเองไม่ได้ มึนเมาอยู่ในความฝันทั้งร้ายและดี ประสาทรับความรู้สึกต่างๆจะแปรปรวนไปหมด บางครั้งผู้เสพอาจจะทำอันตรายแก่ชีวิตตนเองและผู้อื่นได้ สิ่งเสพย์ติดประเภทนี้ได้แก่ แอลเอสดี เมสคาลิน ไซไลซิบิน เอสทีพี เป็นต้น
1.4 สิ่งเสพย์ติดประเภทออกฤทธิ์หลายอย่าง คือ สิ่งเสพย์ติดที่ใช้แล้วจะออกฤทธิ์ต่อร่างกายหลายอย่าง คือ ออกฤทธิ์ทั้งกดประสาท และหลอนประสาท ได้แก่ กัญชา ซึ่งทำให้มีอาการหลงผิด เกิดความเสื่อมโทรมทั้งสุขภาพทางกายและทางจิต ใช้ไปนานๆ จะทำลายประสาท เกิดประสาทหลอน และมีอาการของโรคจิต
2. จำแนกตามลักษณะการเกิด

2.1 สิ่งเสพย์ติดตามธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ สิ่งเสพย์ติดที่ได้จากการสกัดจากพืชบางชนิด ได้แก่ กัญชา และใบกระท่อม เป็นต้น
2.2 สิ่งเสพย์ติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ สิ่งเสพย์ติดที่ผลิตขึ้นตามกรรมวิธีทางเคมี ได้แ โคเคอีน เฮโรอีน มอร์ฟีน พีธคีน เป็นต้น

ป้ายกำกับ:

สิ่งเสพย์ติด

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งเสพย์ติด


องค์การอนามัยโลก (World Health Organization or WHO) ได้ให้ความหมายของสิ่งเสพย์ติดว่า "สิ่งเสพย์ติด" หมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไป โดยไม่สามารถหยุดเสพย์ได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดจะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น

พระราชบัญญัติยาเสพย์ติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพย์ติดให้โทษดังนี้
สิ่งเสพย์ติดให้โทษ หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุ่นแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรม

ปัจจุบันนี้สิ่งเสพย์ติดนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เพราะสิ่งเสพย์ติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอื่นๆ หลายด้าน นับตั้งแต่ ตัวผู้เสพเองซึ่งจะเกิดความทุกข์ลำบากทั้งกายและใจ และเมื่อหาเงินซื้อยาไม่ได้ก็อาจจะก่อให้เกิดอาชญากรรมต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้พ่อแม่พี่น้อง และสังคม ต้องสูญเสียเงินทอง เสียเวลาทำมาหากิน ประเทศชาติต้องสูญเสียแรงงานและสูญเสียเงินงบประมาณในการปราบปรามและรักษา ผู้ติดสิ่งเสพย์ติด และเหตุผลที่ทำให้สิ่งเสพย์ติดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศอีกข้อหนึ่งคือ ปัจจุบันมีผู้ติดสิ่งเสพย์ติดเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้ยังไม่รวมถึงจำนวนผู้ติด บุหรี่ สุรา ยากระตุ้น หรือกดระบบประสาทที่ผสมอยู่ในเครื่องดื่มต่างๆ

ป้ายกำกับ: